จากผลสำรวจในทวีปเอเชียพบว่าคนไทยรับข้อความ SMS มากที่สุดถึง 58 ล้านข้อความ โดยข้อความเหล่านั้นมักจะมาให้รูปแบบลิงค์ดูดเงิน ที่หลอกล่อด้วยรางวัลหรือจำนวนเงิน ซึ่งถ้าหากใครเผลอกดลิงค์มิจฉาชีพนี้เข้าไปมีหวังเสียเงินหมดบัญชีแน่!
สถิติปี 2566 บ่งชี้ว่าไทยได้รับความเสี่ยงต่อการโดนโกงผ่าน SMS เยอะที่สุดในทวีปเอเชีย
ซึ่งคาดการณ์ได้ว่าคนไทยมีโอกาสรับข้อความที่น่าสงสัย เฉลี่ยแล้ว 20.3 ข้อความต่อคนเลยทีเดียว โดยที่ฟิลิปปินส์ตามมาติด ๆ เป็นอันดับสอง (19.8) และฮ่องกงเป็นอันดับสาม (16.2) จากกราฟเห็นได้ว่าแก๊งมิจฉาชีพมุ่งเป้ามาที่คนไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะแอบอ้างในรูปแบบของเจ้าหน้าที่ธนาคาร หน่วยงานรัฐ ขนส่ง และพนันออนไลน์ที่หลอกล่อด้วยเครดิตฟรี สำหรับยูสใหม่
หลาย ๆ คนที่ติดตามข่าวคนเผลอกดลิงค์มิจฉาชีพอาจจะเคยเห็นลักษณะหน้าตาของลิงค์ลวงเหล่านั้นแล้วว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร แต่สำหรับใครที่ยังไม่ทราบ เราขอขยายความให้เข้าใจก่อนว่า ลิงค์ดูดเงิน ที่แก๊งมิจฉาชีพใช้มักเป็นลิงก์ที่หลอกให้ผู้เสียหายกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน เมื่อเหยื่อเสียรู้มันก็จะถอนเงินของผู้เสียหายจนหมดบัญชี และต่อไปนี้คือลักษณะของลิงค์ที่มิจฉาชีพนิยมใช้กัน
เราได้มีเกริ่นไปบ้างแล้วสำหรับลิงค์ในรูปแบบเว็บพนันออนไลน์ที่มักใช้ข้อความโน้มน้าวใจด้วยการแจกเงินเครดิตฟรี พร้อมแนบลิงค์มาให้กดสมัคร ซึ่งถ้าหากแจ็กพอตผู้รับหลงเชื่ออาจจะเสียทรัพย์จนหมดตัวได้เลยนะ
หลายคนอาจจะเผลอกดลิงค์มิจฉาชีพ ลักษณะนี้เพราะมันตีเนียนเสมือนส่งมาจากธนาคารว่าจะทำการระงับบัญชีเนื่องจากมีการเข้าระบบไม่ถูกต้อง หรือแจ้งให้อัปเดตระบบโดยแนบลิงค์มาให้ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเว็บไซต์ปลอมที่ใช้ตกผู้เสียหายที่หลงเชื่อ
ลิงค์ลักษณะนี้อาจจะเพิ่มความน่าเชื่อด้วยการแอบอ้างว่าเป็นหน่วยงานรัฐบาล เช่น การไฟฟ้า, ประกันสังคม โดยแจ้งเรื่องที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ หรือให้อัปเดตระบบเพื่อให้คนที่สนใจกดลิงค์เข้าไป
พวกนี้ยังมาในมุกหลอกล่อคนด้วยของฟรี ของรางวัล คูปองส่วนลด ซึ่งขาช้อป หรือใครที่สนใจของฟรีอาจมีตาว้าว กดลิงค์ไปด้วยความหวัง แต่ฝันอาจจะสลายเพราะโดนย้อนศรซะเอง ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงไม่ต้องเปิด ไม่ต้องสนใจ ท่องไว้ว่าของฟรีไม่มีในโลก!
นอกจากนี้ยังมีข้อความอีกหลากหลายแบบที่ตีเนียนด้วยมุกต่าง ๆ ทางที่ดีอย่ากดลิงค์เป็นอันขาด ให้โทรไปสอบถามกับหน่วยงานนั้นเองโดยตรง (ในกรณีที่คุณสงสัย หรือไม่แน่ใจ)
สำหรับใครที่กลัวเผลอกดลิงค์มิจฉาชีพ เรามีวิธีการตรวจสอบว่าลิงค์ที่แนบมาเป็น ลิงค์มิจฉาชีพหรือไม่ ? ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบได้เบื้องต้น ดังนี้:
หากใครที่เผลอกดลิงค์มิจฉาชีพ แต่ยังไม่ได้กรอกข้อมูลใด ๆ เป็นเพียงแค่คลิกเข้าไปเฉย ๆ คุณยังเป็นผู้รอดค่ะ ข้อมูลของคุณยังคงปลอดภัยอยู่ แต่ถ้าหากคุณกดลิงค์มิจฉาชีพเข้าไป แล้วทำการกรอกข้อมูลส่วนตัวหรือทำการคำแนะนำจนเสร็จสิ้น นั่นคือ Red Flag ที่บ่งบอกถึงความอันตราย วิธีการปฏิบัติ คือ
ต้องบอกเลยว่ามิจฉาชีพคือภัยที่อยู่ใกล้คุณและคนรอบตัวมากกว่าที่คุณคิด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมักจะเป็นผู้สูงอายุ ทางที่ดีควรอัปเดตข่าวสารและป้องกันไม่ให้ผู้ใหญ่ที่บ้านเผลอให้ข้อมูลกับพวกมิจฉาชีพโดยเด็ดขาดนะคะ!